ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทที่ 3 องค์ประกอบของวรรณคดี (ต่อ)

องค์ประกอบด้านประเภทวรรณคดี
                    วิภา  กงกะนันทน์ (2556, น. 109) ได้จัดประเภทงานประพันธ์ไว้ 10 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทจะปรากฏรูปแบบที่หลากหลาย เป็นระบบและครบถ้วน
                    ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และศึกษาเพื่อให้เข้าใจวรรณคดีไทยอย่างครอบคลุมผลงาน ผู้สอนจึงยกตัวอย่างวรรณคดีที่น่าสนใจในประเภทต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของนักศึกษา ดังนี้
          1.วรรณคดีประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่
                   1.1 รูปแบบลิลิต
                             สำนักราชเลขาธิการ. (2539).  ลิลิตตะเลงพ่าย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น                                    ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.


                   1.2 รูปแบบนิราศ
                             ธรรมธิเบศร์, เจ้าฟ้า. (2554). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและพระ                      นิพนธ์บทร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.    

                   1.3 รูปแบบคำรำพึง
                             เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). เพียงความเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: ก. ไก่.        
          2.วรรณคดีประเภทบทละคร ได้แก่
                   2.1 รูปแบบละครไทย
                             พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช,พระบาทสมเด็จพระ. (2549). บทละครเรื่อง                                    รามเกียรติ์ (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
                   2.2 รูปแบบละครพูด
                             มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2536). หัวใจนักรบ (พิมพ์ครั้ง                                    ที่6). กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
                   2.3 รูปแบบบทละครเวที* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   2.4 รูปแบบบทละครโทรทัศน์* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
         
          3.วรรณคดีประเภทบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น
                   3.1วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ได้แก่
                             3.1.1 รูปแบบนวนิยาย
                                       คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2554). สี่แผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่15).                                                    นนทบุรี: ดอกหญ้า2000.
                   3.2วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยกรอง ได้แก่
                             3.2.1  รูปแบบนิทาน
                                      กรมศิลปากร. (2517). พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ (พิมพ์
                                                ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

          4.วรรณคดีประเภทสารคดี ได้แก่
                   4.1 รูปแบบพระราชพิธี
                             กรมศิลปากร. (2503). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์.
                   4.2 รูปแบบความเรียง* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   4.3 รูปแบบบทความทางวิชาการ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   4.4 รูปแบบบทวิจารณ์* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   4.5 รูปแบบชีวประวัติ/อัตชีวประวัติ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          5.วรรณคดีประเภทตำรา ได้แก่
                   5.1 รูปแบบตำรากฎหมาย
                             กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
                   5.2 รูปแบบตำราพุทธศาสนา
                             มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย.                                           กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
                   5.3 รูปแบบตำราเรียนภาษาไทย
                             กรมศิลปากร. (2516). กาพย์พระไชยสุริยาและสุภาษิตสอนหญิง.                                             กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

          6.วรรณคดีประเภทบทเพลง ได้แก่
                   6.1 รูปแบบเพลงชาวบ้าน* เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงเกี่ยวข้าว เพลงรำวง เป็นต้น                  (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   6.2 รูปแบบเพลงไทยเดิม* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   6.3 รูปแบบเพลงไทยสากล* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   6.4 รูปแบบเพลงลูกทุ่ง* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)

          7.วรรณคดีประเภทจดหมายและบันทึก ได้แก่
                   7.1 รูปแบบจดหมายเหตุ
                             พิทยาลงกรณ์,พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น.(2514).จดหมายจางวางหร่ำ.                                     พระนคร : แพร่พิทยา.
                   7.2 รูปแบบบันทึกประจำวัน* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   7.3 รูปแบบบันทึกการเดินทาง หรือ บันทึกการท่องเที่ยว* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษา                   ด้วยตนเอง)

          8.วรรณคดีประเภทรายงาน
                   8.1 รูปแบบรายงานการประชุม* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   8.2 รูปแบบรายงานผลการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ*                      (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
                   8.3 รูปแบบรายงานการไปปฏิบัติราชการ* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วย  ตนเอง)
                   8.4 รูปแบบรายงานข่าว* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยตนเอง)
         
          9.วรรณคดีประเภทวรรณรูป
                   9.1 รูปแบบวรรณรูปมีลักษณะแตกต่างกันไปตามศิลปิน* (ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วย                ตนเอง)

          10.วรรณคดีประเภทปกิณกคดี
                   10.1 รูปแบบพจนานุกรม
                             ราชบัณฑิตยสถาน.  (2556).  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.                                      2544. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
                   10.2 รูปแบบสารานุกรม
                   10.3 รูปแบบปาฐกถา
                   10.4 รูปแบบสุนทรพจน์
                   10.5 รูปแบบภาษิต
                   10.6 รูปแบบคำพังเพย                      

          การศึกษาประเภทของงานประพันธ์จะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการนำเสนอของนักประพันธ์มากยิ่งขึ้น งานประพันธ์บางประเภทมีหลายรูปแบบร่วมกัน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้ในอนาคตอาจมีรูปแบบงานประพันธ์ หรือประเภทงานประพันธ์ที่มากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้ เนื่องจากนักประพันธ์ในปัจจุบันมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และผู้อ่านก็เปิดใจรับงานที่สร้างสรรค์มากขึ้น
          จากการศึกษาองค์ประกอบของวรรณคดี ทั้งในด้านภาษา เนื้อหา และประเภทของงานประพันธ์ จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้รู้ภาพกว้างของวรรณคดี ในขั้นต่อไปผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในขั้นลึกของการศึกษา ซึ่งก็คือ การศึกษากลวิธีในการประพันธ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ประพันธ์แต่ละท่าน




สรุป  
          การเรียนรู้ประเภทของงานประพันธ์ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจำแนกรูปแบบของงานประพันธ์ได้อย่างถูกต้อง โดยประเภทของงานประพันธ์มีทั้งหมด 10 ประเภท และมีรูปแบบย่อยที่ต่างกันไป ดังนี้ ประเภทที่1 วรรณคดีประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ รูปแบบลิลิต รูปแบบนิราศ รูปแบบคำรำพึง ประเภทที่ 2 วรรณคดีประเภทบทละคร ได้แก่ รูปแบบบทละครไทย รูปแบบบทละครพูด รูปแบบบทละครเวที เป็นต้น ประเภทที่ 3 วรรณคดีประเภทบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น วรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ได้แก่ รูปแบบนวนิยาย และวรรณคดีประเภทบันเทิงคดีร้อยกรอง ได้แก่ รูปแบบนิทาน ประเภทที่ 4 วรรณคดีประเภทสารคดี ได้แก่ รูปแบบพระราชพิธี รูปแบบความเรียง รูปแบบบทความทางวิชาการ เป็นต้น ประเภทที่ 5  วรรณคดีประเภทตำรา ได้แก่ รูปแบบตำรากฎหมาย รูปแบบตำราพุทธศาสนา เป็นต้น ประเภทที่ 6 วรรณคดีประเภทบทเพลง ได้แก่ รูปแบบเพลงชาวบ้าน รูปแบบเพลงไทยเดิม รูปแบบเพลงไทยสากล เป็นต้น ประเภทที่ 7 วรรณคดีประเภทจดหมายและบันทึก ได้แก่ รูปแบบจดหมายเหตุ รูปแบบบันทึกประจำวัน รูปแบบบันทึกการเดินทาง หรือ บันทึกการท่องเที่ยว ประเภทที่ 8 วรรณคดีประเภทรายงาน ได้แก่ รูปแบบรายงานการประชุม รูปแบบรายงานผลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ รูปแบบรายงานการไปปฏิบัติราชการ รูปแบบรายงานข่าว ประเภทที่ 9 วรรณคดีประเภทวรรณรูป และ ประเภทที่ 10 วรรณคดีประเภทปกิณกคดี ได้แก่ รูปแบบพจนานุกรม รูปแบบสารานุกรม รูปแบบปาฐกถา เป็นต้น
                  
คำถามทบทวน


 
เอกสารอ้างอิง

กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
_______. (2503). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์.
_______. (2516). กาพย์พระไชยสุริยาและสุภาษิตสอนหญิง. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
_______. (2517). พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2554). สี่แผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่15). นนทบุรี: ดอกหญ้า2000.
ธรรมธิเบศร์,เจ้าฟ้า. (2554). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและพระนิพนธ์บทร้อยกรอง. กรุงเทพฯ:เพชรกะรัต.      
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). เพียงความเคลื่อนไหว (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ:  ก. ไก่.
พิทยาลงกรณ์,พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2514). จดหมายจางวางหร่ำ. พระนคร: แพร่พิทยา.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช,พระบาทสมเด็จพระ. (2549). บทละครเรื่องรามเกียรติ์  (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2536). หัวใจนักรบ (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544. กรุงเทพฯราชบัณฑิตยสถาน.
วิภา  กงกะนันทน์. (2556). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ:  สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักราชเลขาธิการ. (2539). ลิลิตตะเลงพ่าย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
         


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 4 กลวิธีของการประพันธ์

          กลวิธีของการประพันธ์ คือ วิธีการประพันธ์ในแบบเฉพาะของผู้ประพันธ์แต่ละคน หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าลีลาการประพันธ์ โดยการศึกษากลวิธีการประพันธ์นั้น ผู้เรียนสามารถพิจารณาได้จากเรื่องต่างๆดังนี้                    1. การเลือกสรรวัตถุดิบ (material)                    2. การกำหนดแนวเรื่อง (theme)                    3 . การลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง (plot)                    4. การสร้างตัวละคร (characterization)                    5. การสร้างฉาก (Scene)                    6. วิธีการนำเสนอผลงาน (presentation)                    7. กรรมวิธีเบ็ดเตล็ด (Other creators)           ในบทนี้ จะนำเสนอการศึกษาใน 3 ข้อแรก เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวรรณคดี ส่วนอีก 4 ข้อ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในบทต่อไป 1. การเลือกสรรวัตถุดิบ (material)           วัตถุดิบ คือส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี ซึ่งผู้ประพันธ์จะนำวัตถุดิบที่หลากหลายมาใช้เพื่อสร้างสรรค์วรรณคดีแต่ละเรื่อง ซึ่งแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่กวีหรือนักประพันธ์เลือกมา ปรุงแต่งวรรณคดี อาจมาจากหลายแหล่งประกอบกัน เช่น 1.1 จินตนาก

บทที่ 2 องค์ประกอบของวรรณคดี

องค์ประกอบของวรรณคดีนั้น ผู้เขียนใช้หลักการตามแนวทางที่กล่าวไว้ในหนังสือ วรรณคดีศึกษา(ว่าด้วยหลักการอ่าน) ( วิภา กงกะนันทน์, 2556) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้           1. เนื้อหา คือ เรื่องราวที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมา โดยมีคนหรือตัวละครปรากฏในเรื่อง อาจเป็นได้ทั้งคนจริงคือคนที่มีตัวตนอยู่จริง หรือ ตัวละครคือคนสมมติที่ผู้เขียนคิดขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียน นอกจากนี้การที่เนื้อหาจะสมบูรณ์จะต้องมีฉาก ซึ่งก็คือ เวลาและสถานที่ ผู้เขียนจะสร้างฉากให้สมจริง และกลมกลืนไปกับเรื่องราว เพื่อให้เกิดอรรถรสในการอ่าน ในส่วนของเนื้อหาจะปรากฏทรรศนะของผู้เขียนอยู่ทุกเรื่อง เนื่องจากวรรณคดีทุกเรื่องจะเปรียบดังตัวแทนของผู้เขียน ผู้เขียนจะแทรกเรื่องราวหรือทรรศนะของตนเองในเรื่องอยู่เสมอ หากผู้อ่านไม่ทันสังเกตจะไม่พบส่วนนี้ ดังนั้นการศึกษาองค์ประกอบในส่วนเนื้อหา ผู้อ่านจำเป็นต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน           2. ภาษาที่ใช้ ภาษาคือเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือเนื้อหาข้างต้น ดังนั้นการใช้ภาษาจึงเป็นส่วนที่สำคัญ ผู้เขียนจะรังสรรค์ถ้อยคำ เรียบเรียงภาษา เพื่อให้สามารถร้อยเรียงเรื่องราวได้อย่างต

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานวรรณคดี

1.ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” หรือ “วรรณกรรม”           นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” และ “วรรณกรรม” ไว้ ดังนี้           พระยาอนุมานราชธน (2518 , น. 8 ) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ว่า วรรณคดีคือความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฏเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม           รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ( 2523 , น. 4 ) กล่าวว่า “วรรณคดีมาจากคำว่า วรรณหรือ บรรณ ซึ่งแปลว่า ใบไม้หรือหนังสือ กับคำว่า คติ แปลว่า ทาง วรรณคดีจึงแปลตามรูปศัพท์ว่าแนวทางของการแต่งหนังสือ”           ศรีวิไล ดอกจันทร์ (2529 , น. 3 ) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ว่า หมายถึง หนังสือที่เรียบเรียงด้วยถ้อยคำเกลี้ยงเกลาไพเราะ กระตุ้นให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ทั้งยังเป็นหนังสือที่สอดแทรกคุณค่าต่าง ๆ และสารัตถประโยชน์ไว้อีกด้วย           พระวรเวทย์พิสิฐ (2534, น. 4) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ไว้ว่า วรรณคดีคือหนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลา เพราะพริ้ง มีรสปลุกมโนคติ ให้เพลิดเพลิน กระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง