ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทที่ 14 การนำเสนอผลการศึกษาแนวคิดในวรรณคดีที่สัมพันธ์กับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

1. แนวคิดในวรรณคดีสมัยสุโขทัย
วรรณคดีในสมัยสุโขทัยนั้น มีปรากฏเพียง 2 เรื่อง คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไตรภูมิพระร่วง จากวรรณคดีทั้งสองเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า แนวคิดของวรรณคดีในสมัยสุโขทัย มุ่งนำเสนอประวัติของพระมหากษัตริย์ การบันทึกสภาพบ้านเมือง ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย และการทำความดี ความชั่ว        ส่วนแนวคิดย่อย มีหลายแนว เช่น ความกตัญญู ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความเอาใจใส่ประชาชนของพระมหากษัตริย์ การประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไทย) เป็นต้น
         
2. แนวคิดในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง
แนวคิดที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง มุ่งสอนการใช้ชีวิตของคนในสังคม เพื่อให้ใช้ชีวิตให้ถูกครรลองครองธรรม นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ ในสมัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้ เนื่องจากมีวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาไทย คือจินดามณี

3 .แนวคิดในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
          แนวคิดที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง  คือการมุ่งเน้นให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับ ความงามของธรรมชาติ การชมสัตว์ การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก เป็นต้น
                  
4. แนวคิดในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.1 – ร.3)
          แนวคิดที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยนี้ จะเน้นแนวคิดในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคน การประพฤติปฏิบัติตนของคน ซึ่งแต่ละเรื่องจะให้แนวคิดที่คล้ายคลึงกัน เช่น ขุนช้างขุนแผน ให้แนวคิดในเรื่องของชีวิตของคน ที่มีความรัก  โลภ โกรธ หลง อย่างไม่สิ้นสุด ทำให้ชีวิตของคนไม่มีความสุข หรือมีความสุขอยู่เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น อิเหนา ให้แนวคิดในเรื่องของ ตัณหา เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวาย

5. แนวคิดในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.4 - ร.5)
แนวคิดที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยนี้ จะเกี่ยวข้องกับการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้อง การใช้ชีวิตของคน การบรรยายสภาพบ้านเมืองเรื่องราวต่างประเทศ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนในประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวคิดในวรรณคดีสมัยนี้จะค่อนข้างที่จะทันสมัยมากขึ้น เนื่องจากมีการเปิดประเทศและรับวัฒนธรรมของชาติต่างๆเข้ามา จึงทำให้วรรณคดีในสมัยนี้มีแนวคิดที่หลากหลาย

6. แนวคิดในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ( ร.6 – ร.8 )
          แนวคิดที่ได้รับจากวรรณคดีในสมัยนี้นั้น ผู้อ่านจะได้รับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมุมมองทางประวัติศาสตร์ของกวี การประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม การไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ความเพียรพยายาม เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสมัยนี้แนวคิดที่ได้รับจากวรรณคดีจะเน้นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้นำแนวคิดไปประยุกต์ใช้

7. แนวคิดในวรรณคดีไทยlสมัยปัจจุบัน (ร.9)
          แนวคิดในวรรณคดีไทยสมัยปัจจุบัน จะเน้นเกี่ยวกับสัจจนิยม ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม สภาพสังคม โดยสะท้อนภาพสังคมผ่านวรรณคดี ดังนั้นวรรณคดีในปัจจุบันจึงเน้นแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นจริงและสภาพจริงที่เกิดขึ้น

สรุป
          วรรณคดีไทยแต่ละสมัยมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ด้วยยุคสมัยที่แตกต่าง แนวคิด วิถีการดำเนินชีวิตของคนจึงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จากบทนี้จะเห็นได้ว่า ในยุคแรกเริ่มคือสมัยสุโขทัย แนวคิดของวรรณคดีจะเน้นการบรรยายสภาพความเจริญของบ้านเมืองและการทำความดีความชั่ว ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนให้ถูกครรลองครองธรรม และเริ่มมีแนวคิดเกี่ยวการเรียนหนังสือ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองที่ไม่สงบนัก จึงทำให้วรรณคดีในสมัยนี้มีจำนวนน้อย แนวคิดที่ปรากฏจึงมีความคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง คือ มุ่งเน้นให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ (ร.1-ร.3) แนวความคิดในวรรณคดีก็ยังคงเน้นเรื่องของการดำเนินชีวิตแต่เริ่มมีแนวคิดที่ลึกขึ้น คือ การใช้ชีวิตอย่างมีสติ การไม่ปล่อยให้ตัณหาเข้าครอบงำ จากนั้นในสมัย ร.4-ร.5 แนวคิดของวรรณคดีไทยเริ่มมีความหลากหลายขึ้น คือเริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างประเทศ การใช้ชีวิตของคนต่างประเทศเข้ามา ในสมัยต่อมาคือวรรณคดีสมัย ร.6-ร.8 แนวคิดที่นำเสนอในวรรณคดีก็จะเกี่ยวกับการประพฤติตนอย่างเหมาะสม จนกระทั่งสมัยปัจจุบัน (ร.9) แนวคิดทางวรรณคดีจะเกี่ยวกับสภาพสังคม ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งเป็นแนวสัจจนิยม

คำถามทบทวน















 
เอกสารอ้างอิง

กรุณา และเรืองอุไร กุศลาสัย. (2555). มหาภารตยุทธ (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: บริษัทสยาม   ปริทัศน์ จำกัด.
กรมศิลปากร. (2503). ประชุมกาพย์เห่เรือ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.
_______. (2506). ลิลิตพระลอ. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
_______. (2510). ลิลิตพระลอ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: พระจันทร์.
_______. (2514). ลิลิตยวนพ่าย. ธนบุรี: บรรณาคาร.
_______. (2543). จินดามณี. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
_______. (2546). ขุนช้างขุนแผน เล่ม1. กรุงเทพฯ:  พิมพ์ไทยพิมพ์.
_______. (2546). ขุนช้างขุนแผน เล่ม2. กรุงเทพฯพิมพ์ไทยพิมพ์.
_______. (2546). ขุนช้างขุนแผน เล่ม3. กรุงเทพฯพิมพ์ไทยพิมพ์.
_______. (2553). ประชุมกาพย์เห่เรือ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.
_______. (2554). จินดามณี. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.
เปลื้อง ณ นคร. (2515). ประวัติวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
_______. (2544). ประวัติวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จพระ. (2553). อิเหนา (พิมพ์ครั้งที่18). กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.
_______. (2557). อิเหนา (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
พิทยาลงกรณ์, พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2505). สามกรุง. พระนคร: ไทยสัมพันธ์.
_______.  (2515). นิทานเวตาล. พระนคร: บำรุงสาส์น.
_______. (2518). สามกรุง. กรุงเทพฯ: เจริญรัตน์.
_______.  (2554). นิทานเวตาล (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์. (2550). ยวนพ่ายโคลงดั้นฉบับแปลและความเรียงเรื่องยวนพ่าย. กรุงเทพฯ:      บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2551). มัทนะพาธา (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ:      สกสค.
มนตรี ศรียงค์. (2550). โลกในดวงตาข้าพเจ้า. กรุงเทพ: สามัญชน.
สำนักราชเลขาธิการ. (2537). ไกลบ้าน. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด          (มหาชน).
อิศรญาณ,หม่อมเจ้า. (2553). สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ. กรุงเทพฯ: วิสดอม.


 
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 4 กลวิธีของการประพันธ์

          กลวิธีของการประพันธ์ คือ วิธีการประพันธ์ในแบบเฉพาะของผู้ประพันธ์แต่ละคน หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าลีลาการประพันธ์ โดยการศึกษากลวิธีการประพันธ์นั้น ผู้เรียนสามารถพิจารณาได้จากเรื่องต่างๆดังนี้                    1. การเลือกสรรวัตถุดิบ (material)                    2. การกำหนดแนวเรื่อง (theme)                    3 . การลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง (plot)                    4. การสร้างตัวละคร (characterization)                    5. การสร้างฉาก (Scene)                    6. วิธีการนำเสนอผลงาน (presentation)                    7. กรรมวิธีเบ็ดเตล็ด (Other creators)           ในบทนี้ จะนำเสนอการศึกษาใน 3 ข้อแรก เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวรรณคดี ส่วนอีก 4 ข้อ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในบทต่อไป 1. การเลือกสรรวัตถุดิบ (material)           วัตถุดิบ คือส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี ซึ่งผู้ประพันธ์จะนำวัตถุดิบที่หลากหลายมาใช้เพื่อสร้างสรรค์วรรณคดีแต่ละเรื่อง ซึ่งแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่กวีหรือนักประพันธ์เลือกมา ปรุงแต่งวรรณคดี อาจมาจากหลายแหล่งประกอบกัน เช่น 1.1 จินตนาก

บทที่ 2 องค์ประกอบของวรรณคดี

องค์ประกอบของวรรณคดีนั้น ผู้เขียนใช้หลักการตามแนวทางที่กล่าวไว้ในหนังสือ วรรณคดีศึกษา(ว่าด้วยหลักการอ่าน) ( วิภา กงกะนันทน์, 2556) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้           1. เนื้อหา คือ เรื่องราวที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมา โดยมีคนหรือตัวละครปรากฏในเรื่อง อาจเป็นได้ทั้งคนจริงคือคนที่มีตัวตนอยู่จริง หรือ ตัวละครคือคนสมมติที่ผู้เขียนคิดขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียน นอกจากนี้การที่เนื้อหาจะสมบูรณ์จะต้องมีฉาก ซึ่งก็คือ เวลาและสถานที่ ผู้เขียนจะสร้างฉากให้สมจริง และกลมกลืนไปกับเรื่องราว เพื่อให้เกิดอรรถรสในการอ่าน ในส่วนของเนื้อหาจะปรากฏทรรศนะของผู้เขียนอยู่ทุกเรื่อง เนื่องจากวรรณคดีทุกเรื่องจะเปรียบดังตัวแทนของผู้เขียน ผู้เขียนจะแทรกเรื่องราวหรือทรรศนะของตนเองในเรื่องอยู่เสมอ หากผู้อ่านไม่ทันสังเกตจะไม่พบส่วนนี้ ดังนั้นการศึกษาองค์ประกอบในส่วนเนื้อหา ผู้อ่านจำเป็นต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน           2. ภาษาที่ใช้ ภาษาคือเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือเนื้อหาข้างต้น ดังนั้นการใช้ภาษาจึงเป็นส่วนที่สำคัญ ผู้เขียนจะรังสรรค์ถ้อยคำ เรียบเรียงภาษา เพื่อให้สามารถร้อยเรียงเรื่องราวได้อย่างต

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานวรรณคดี

1.ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” หรือ “วรรณกรรม”           นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” และ “วรรณกรรม” ไว้ ดังนี้           พระยาอนุมานราชธน (2518 , น. 8 ) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ว่า วรรณคดีคือความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฏเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม           รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ( 2523 , น. 4 ) กล่าวว่า “วรรณคดีมาจากคำว่า วรรณหรือ บรรณ ซึ่งแปลว่า ใบไม้หรือหนังสือ กับคำว่า คติ แปลว่า ทาง วรรณคดีจึงแปลตามรูปศัพท์ว่าแนวทางของการแต่งหนังสือ”           ศรีวิไล ดอกจันทร์ (2529 , น. 3 ) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ว่า หมายถึง หนังสือที่เรียบเรียงด้วยถ้อยคำเกลี้ยงเกลาไพเราะ กระตุ้นให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ทั้งยังเป็นหนังสือที่สอดแทรกคุณค่าต่าง ๆ และสารัตถประโยชน์ไว้อีกด้วย           พระวรเวทย์พิสิฐ (2534, น. 4) ให้ความหมายของคำว่า “วรรณคดี” ไว้ว่า วรรณคดีคือหนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลา เพราะพริ้ง มีรสปลุกมโนคติ ให้เพลิดเพลิน กระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง